พรบ.คอมพิวเตอร์
ข้อควรระวังในการใช้อินเทอร์เน็ต
ในปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ไม่ถูกต้องเป็นจำนวนมากและบางครั้งก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมขึ้นในสังคม เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการโฆษณาชวนเชื่อหรือหลอกลวงผู้ใช้บริการให้หลงเชื่อทำให้ต้องสูญเสียเงิน ถูกล่วงเกินทางเพศหรือแม้กระทั่งเสียชีวิต การมีเว็บไซต์ขายบริการทางเพศและการที่เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ติดเกมส์ออนไลน์จนเสียการเรียน เป็นต้น
ดังนั้น ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจึงควรตระหนักถึงพิษภัยจากการนำเสนอ โฆษณาชวนเชื่อ และการขายบริการทุกประเภทผ่านทางอินเทอร์เน็ต รวมทั้งการสนทนาทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ทราบแหล่งที่มาหรือตัวบุคคลที่แน่ชัด ซึ่งผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตต้องเพิ่มความระมัดระวังไม่ควรให้ชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ สถานที่ติดต่อหรือไปพบกับบุคคลแปลกหน้า ที่สนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ตตามลำพัง และในกรณีที่มีเหตุการณ์ผิดปกติหรือมีบุคคลที่ไม่น่าไว้วางใจมาติดต่อให้ออกไปพบนอกสถานที่ ควรแจ้งให้บิดามารดาหรือบุคคลใกล้ชิด หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหลอกลวงไปสู่อาชญากรรมต่อไป สำหรับเวลาที่เหมาะสมในการเล่นเกมส์ของเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี จำกัดไม่เกิน 3 ชั่วโมง ผู้ปกครองจึงควรกวดขันลูกหลานและชี้ให้เห็นโทษของการเล่นเกมส์เป็นเวลานานติดต่อกันให้ลูกหลานทราบด้วย
ด้วยความปราถนาดีจาก กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
หรือแจ้งที่โดยตรงรวดเร็ว
http://www.mict.go.th ที่ร้องเรียนICT
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง
ในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์
โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้
อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าว ได้แก่ การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง
ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด บทความโดย : กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์
VIDEO
แฮกเกอร์-แคร็กเกอร์
แฮกเกอร์ คือ ผู้ที่เข้ามาในระบบการทำงานของคุณ รวมไปถึงผู้ที่อยากรู้อยากเห็นการทำงานของระบบ พวกเขามักจะเข้าถึงตัวระบบ และสามารถสั่งงานในระบบตามความพอใจของพวกเขา เพื่อให้ได้ความรู้ดังที่พวกเขาต้องการ เมื่อแฮกเกอร์ได้เข้ามามากมายในระบบหรือโปรแกรม พวกเขาจะทำให้ระบบของพวกเขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในโปรแกรมของคุณ ปัญหาที่เกิดขึ้นต่างๆเกิดจากแฮกเกอร์เข้าถึงระบบของคุณโดยปราศจากเจ้าของระบบที่มีความรู้ปัจจุบัน คำว่าแฮกเกอร์ ในปัจจุบัน หมายถึง บุคคลทั้งหลายผู้ซึ่งเข้าถึงข้อมูลของคุณอย่างผิดกฎหมาย แฮกเกอร์สามารถทำให้คอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายของคุณเสียหายอีกด้วย บริษัทและส่วนราชการที่มีชื่อเสียงก็โดนเข้าถึงข้อมูลด้วยเช่นกันการโจมตีของแฮกเกอร์ แฮกเกอร์ต่างๆ พากันเข้ามาในระบบเพื่อวัตถุประสงค์มากมาย แฮกเกอร์หลายคน ใช้ทักษะทางด้านการเงิน เพื่อเข้ามาขโมยข้อมูล: แฮกเกอร์สามารถขโมยเงินจำนวนสิบล้านจากซิตี้แบงค์ได้ อย่างไรก็ตาม แฮกเกอร์ได้ใช้ประโยชน์จากความรู้แพร่ขยายไวรัสโจมตีไปทางอินเทอร์เนตและเว็บไซต์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีอันตรายไม่เพียงแค่การที่ข้อมูลของบริษัทได้หายไปหรือถูกขโมยไป แต่ความเสียหายทางธุรกิจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยรวมด้วยการต่อสู้กับการเจาะทำลายข้อมูล นานาประเทศตั้งแต่ประเทศแคนาดาไปยังเมืองเมอริเชียส มีการกำหนดข้อกฎหมายเบื้องต้น ว่ามีการจับกุมผู้กระทำผิดเข้าคุกเป็นระยะเวลานาน ผู้ที่เขียนไวรัสรายหนึ่งที่ชื่อว่า กิ๊กกะไบท์ โดนจับกุมตัวได้ที่เบลเยี่ยมในปี 2548 โดยข้อกล่าวหาคือ เธอได้ก่อวินาศกรรมบนระบบคอมพิวเตอร์ และพิสูจน์ว่ามีความผิดจริงและมีผลต้องโทษ 3 ปีขึ้นไป แคร็กเกอร์ (อาชญากร) การก่ออาชญากรรมทางโลกไซเบอร์ มีลักษณะคล้ายกกับแฮกเกอร์แต่แตกต่างกันตรงความคิดและเจตณา แฮกเกอร์ คือผู้ที่นำความรู้ในการแฮกไปใช้ในทางที่มีประโยชน์ ส่วนแครกเกอร์ คือผู้ที่นำความรู้ในการแฮกไปใช้ในการทำความผิด เช่น การขโมยข้อมูล การทำลายข้อมูล หรือแม้กระทั่งการครอบครองคอมพิวเตอร์คนอื่น อย่างไรก็ตามการออกกฎหมายมาควบคุมหรือลงโทษ ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ผู้ใช้ตามบ้านสามารถปกป้องด้วยตัวของพวกเขาเองจากภยันตรายของกองทัพไวรัสทั้งหลาย การป้องกันเพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัย ด้วยการซ่อนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ไม่ให้แฮกเกอร์เห็นเช่นกัน