วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พรบ.คอมพิวเตอร์

พรบ.คอมพิวเตอร์

ข้อควรระวังในการใช้อินเทอร์เน็ต
ในปัจจุบันมีการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ไม่ถูกต้องเป็นจำนวนมากและบางครั้งก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมขึ้นในสังคม เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการโฆษณาชวนเชื่อหรือหลอกลวงผู้ใช้บริการให้หลงเชื่อทำให้ต้องสูญเสียเงิน ถูกล่วงเกินทางเพศหรือแม้กระทั่งเสียชีวิต การมีเว็บไซต์ขายบริการทางเพศและการที่เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ติดเกมส์ออนไลน์จนเสียการเรียน เป็นต้น
ดังนั้น ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจึงควรตระหนักถึงพิษภัยจากการนำเสนอ โฆษณาชวนเชื่อ และการขายบริการทุกประเภทผ่านทางอินเทอร์เน็ต รวมทั้งการสนทนาทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ทราบแหล่งที่มาหรือตัวบุคคลที่แน่ชัด ซึ่งผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตต้องเพิ่มความระมัดระวังไม่ควรให้ชื่อ นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ สถานที่ติดต่อหรือไปพบกับบุคคลแปลกหน้า ที่สนทนาผ่านทางอินเทอร์เน็ตตามลำพัง และในกรณีที่มีเหตุการณ์ผิดปกติหรือมีบุคคลที่ไม่น่าไว้วางใจมาติดต่อให้ออกไปพบนอกสถานที่ ควรแจ้งให้บิดามารดาหรือบุคคลใกล้ชิด หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจทราบ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหลอกลวงไปสู่อาชญากรรมต่อไป สำหรับเวลาที่เหมาะสมในการเล่นเกมส์ของเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี จำกัดไม่เกิน 3 ชั่วโมง ผู้ปกครองจึงควรกวดขันลูกหลานและชี้ให้เห็นโทษของการเล่นเกมส์เป็นเวลานานติดต่อกันให้ลูกหลานทราบด้วย
ด้วยความปราถนาดีจาก กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
หรือแจ้งที่โดยตรงรวดเร็ว http://www.mict.go.th ที่ร้องเรียนICT
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง
ในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543 ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต, การสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย, การยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์
โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้
อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าว ได้แก่
การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252A การประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุมทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้แย้งอย่างกว้างขวาง
ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด
บทความโดย : กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์

แฮกเกอร์-แคร็กเกอร์

แฮกเกอร์คืออะไร
แฮกเกอร์ คือ ผู้ที่เข้ามาในระบบการทำงานของคุณ รวมไปถึงผู้ที่อยากรู้อยากเห็นการทำงานของระบบ พวกเขามักจะเข้าถึงตัวระบบ และสามารถสั่งงานในระบบตามความพอใจของพวกเขา เพื่อให้ได้ความรู้ดังที่พวกเขาต้องการ เมื่อแฮกเกอร์ได้เข้ามามากมายในระบบหรือโปรแกรม พวกเขาจะทำให้ระบบของพวกเขาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในโปรแกรมของคุณ ปัญหาที่เกิดขึ้นต่างๆเกิดจากแฮกเกอร์เข้าถึงระบบของคุณโดยปราศจากเจ้าของระบบที่มีความรู้
ปัจจุบัน
คำว่าแฮกเกอร์ ในปัจจุบัน หมายถึง บุคคลทั้งหลายผู้ซึ่งเข้าถึงข้อมูลของคุณอย่างผิดกฎหมาย แฮกเกอร์สามารถทำให้คอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายของคุณเสียหายอีกด้วย บริษัทและส่วนราชการที่มีชื่อเสียงก็โดนเข้าถึงข้อมูลด้วยเช่นกัน
การโจมตีของแฮกเกอร์
แฮกเกอร์ต่างๆ พากันเข้ามาในระบบเพื่อวัตถุประสงค์มากมาย แฮกเกอร์หลายคน ใช้ทักษะทางด้านการเงิน เพื่อเข้ามาขโมยข้อมูล: แฮกเกอร์สามารถขโมยเงินจำนวนสิบล้านจากซิตี้แบงค์ได้ อย่างไรก็ตาม แฮกเกอร์ได้ใช้ประโยชน์จากความรู้แพร่ขยายไวรัสโจมตีไปทางอินเทอร์เนตและเว็บไซต์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนมีอันตรายไม่เพียงแค่การที่ข้อมูลของบริษัทได้หายไปหรือถูกขโมยไป แต่ความเสียหายทางธุรกิจก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยรวมด้วย
การต่อสู้กับการเจาะทำลายข้อมูล
นานาประเทศตั้งแต่ประเทศแคนาดาไปยังเมืองเมอริเชียส มีการกำหนดข้อกฎหมายเบื้องต้น ว่ามีการจับกุมผู้กระทำผิดเข้าคุกเป็นระยะเวลานาน ผู้ที่เขียนไวรัสรายหนึ่งที่ชื่อว่า กิ๊กกะไบท์ โดนจับกุมตัวได้ที่เบลเยี่ยมในปี 2548 โดยข้อกล่าวหาคือ เธอได้ก่อวินาศกรรมบนระบบคอมพิวเตอร์ และพิสูจน์ว่ามีความผิดจริงและมีผลต้องโทษ 3 ปีขึ้นไป
แคร็กเกอร์ (อาชญากร) การก่ออาชญากรรมทางโลกไซเบอร์ มีลักษณะคล้ายกกับแฮกเกอร์แต่แตกต่างกันตรงความคิดและเจตณา แฮกเกอร์ คือผู้ที่นำความรู้ในการแฮกไปใช้ในทางที่มีประโยชน์ ส่วนแครกเกอร์ คือผู้ที่นำความรู้ในการแฮกไปใช้ในการทำความผิด เช่น การขโมยข้อมูล การทำลายข้อมูล หรือแม้กระทั่งการครอบครองคอมพิวเตอร์คนอื่น
อย่างไรก็ตามการออกกฎหมายมาควบคุมหรือลงโทษ ไม่ใช่คำตอบสุดท้าย ผู้ใช้ตามบ้านสามารถปกป้องด้วยตัวของพวกเขาเองจากภยันตรายของกองทัพไวรัสทั้งหลาย การป้องกันเพื่อให้แน่ใจว่าปลอดภัย ด้วยการซ่อนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ไม่ให้แฮกเกอร์เห็นเช่นกัน

บทความและสารคดี

ชาวบ้านบางระจัน  (กลุ่มวีรชนผู้กล้า)

ชาวบ้านบางระจัน  (กลุ่มวีรชนผู้กล้า)          ชาวบ้านบางระจัน  เป็นกลุ่มบุคคลที่ถือเป็นตัวอย่างบุคคลสำคัญในภาคกลาง  ซึ่งได้รับการยกย่องว่า  เป็นกลุ่มบุคคลผู้กล้าหาญและเสียสละชีวิตต่อชาติบ้านเมือง
          ประวัติ               ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  ก่อนจะเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2  พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่าได้ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาโดยได้ยกกองทัพมา 2 ทาง  คือ  ทางเมืองกาญจนบุรีและทางเมืองตาก  โดยมีเนเมียวสีหบดีและมังมหานรธาเป็นแม่ทัพ  โดยทัพแรกให้เนเนียวสีหบดีเป้นแม่ทัพยกมาตีหัวเมืองฝ่ายเหนือของกรุงศรีอยุธยาแล้วให้ย้อนกลับมาตีกรุงศรีอยุธยา  ส่วนทัพที่ 2  มอบให้มหานรธาเป็นแม่ทัพยกมาตีเมืองทวายและกาญจนบุรี  แล้วให้ยกกองทัพมาสมทบกับเนเมียวสีหบดีเพื่อล้อมกรุงศรีอยุธยาพร้อมกัน
               ทัพของเนเมียวสีหบดีได้มาตั้งค่ายอยู่ที่เมืองวิเศษไชยชาญ  แล้วให้ทหารออกปล้นสะดมทรัพย์สมบัติ  เสบียงอาหาร  และข่มเหงราษฎรไทย  จนชาวเมืองวิเศษไชยชาญไม่สามารถถอดทนต่อการข่มเหงของพวกพม่าได้  กลุ่มชาวบ้านที่บางระจันประกอบด้วย  นายแท่น  นายโชติ  นายอิน  นายเมือง  นายดอก  และนายทองแก้ว  จึงได้รวบรวมชาวบ้านต่อสู้กับพม่า  โดยได้อัญเชิญพระอาจารย์ธรรมโชติจากสำนักวัดเขานางบวช  แขวงเมืองสุพรรณบุรี  ซึ่งชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธาให้มาช่วยคุ้มครองและมาร่วมให้กำลังใจ  และได้มีบุคคลชั้นหัวหน้าเพิ่มขึ้นอีก  ได้แก่  ขุนสวรรค์  นายจันหนวดเขี้ยว  นายทองเหม็น  นายทองแสงใหญ่  และพันเรือง  เมื่อมีชาวบ้านอพยพเข้ามามากขึ้น  จึงช่วยกันตั้งค่ายบางระจันขึ้น  เพื่อต่อสู้ขัดขวางการรุกรานของพม่า


          วีรกรรมสำคัญ               ชาวบ้านบางระจันรวบรวมชาวบ้านได้จำนวนมาก  จึงตั้งค่ายสู้รบกับพม่า  โดยมีกลุ่มผู้นำรวม 11 คน  พม่าได้พยายามเข้าตีค่ายบางระจันถึง 7 ครั้ง  แต่ก็ไม่สำเร็จ
               ในที่สุดสุกี้ซึ่งเป็นพระนายกองของพม่าได้อาสาปราบชาวบ้านบางระจัน  โดยตั้งค่ายประชิดค่ายบางระจัน  แล้วใช้ปืนใหญ่ยิงเข้าไปในค่ายแทนการสู้รบกันกลางแจ้ง  ทำให้ชาวบ้านเสียชีวิตไปจำนวนมาก
               ชาวบ้านบางระจันไม่มีปืนใหญ่ยิงตอบโต้ฝ่ายพม่า  จึงมีใบบอกไปทางกรุงศรีอยุธยาให้ส่งปืนใหญ่มาให้  แต่ทางกรุงศรีอยุธยาไม่กล้าส่งมาให้  เพราะเกรงว่าจะถูกฝ่ายพม่าดักปล้นระหว่างทาง  ชาวบ้านจึงช่วยกันหล่อปืนใหญ่โดยบริจาคของใช้ทุกอย่างที่ทำด้วยทองเหลืองมาหล่อปืนได้สองกระบอก  แต่พอทดลองนำไปยิง  ปืนก็แตกร้าวจนใช้การไม่ได้
               ถึงแม้ว่าไม่มีปืนใหญ่  ชาวบ้านบางระจันก็ยังคงยืนหยัดต่อสู้กับพม่าต่อไปจนกระทั่งวันแรม 2 ค่ำ  เดือน 8  พ.ศ. 2309  ค่ายบางระจันก็ถูกพม่าตีแตกและสามารถยึดค่ายไว้ได้  หลังจากที่ยืนหยัดต่อสู้กับข้าศึกมานานถึง 5 เดือน
               จากวีรกรรมของชาวบ้านบางระจันทำให้ได้รับการยกย่องว่า  เป็นวีรกรรมของคนไทยที่มีคุณค่าอย่างยิ่งในการเสียสละชีวิตให้แก่ชาติบ้านเมือง  และแสดงให้เห็นถึงความสามัคคีและความกล้าหาญของคนไทยในการต่อสู้กับข้าศึก  และถือเป็นแบบอย่างที่ดีของอนุชนรุ่นหลัง  ทางราชการจึงได้สร้างอนุสาวรีย์วีรขนค่ายบางระจันเป็นรูปหล่อวีรชนที่เป็นหัวหน้าทั้ง 11 คน  ขึ้นบริเวณหน้าค่ายบางระจัน อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี  เพื่อเป็นอนุสรณ์สืบต่อไป



วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

คู่มือการเริ่มต้นใช้งานบล็อกเกอร์



คู่มือการเริ่มต้นใช้งานบล็อกเกอร์


สร้างบล็อก

          เมื่อต้องการเริ่มเขียนบล็อกด้วยบล็อกเกอร์ ให้ไปที่ หน้าแรกบล็อกเกอร์ ใส่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านของคุณ จากนั้นคลิกลงชื่อเข้าใช้ ป้อนชื่อที่แสดง และยอมรับข้อกำหนดในการให้บริการของบล็อกเกอร์ จากนั้นคลิกที่ลิงก์ สร้างบล็อก แล้วเริ่มต้นได้เลย         
        เลือกที่อยู่ (URL) และชื่อบล็อก จากนั้นเลือกเทมเพลตบล็อกที่คุณชอบ (นี่คือลักษณะหน้าตาของบล็อกเมื่อคุณเผยแพร่) จากนั้นก็เริ่มใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มข้อมูลในโปรไฟล์ส่วนบุคคลของคุณ และปรับแต่งลักษณะของบล็อก ถ้าคุณต้องการ เริ่มต้นเขียนบล็อกวันนี้

 แดชบอร์ด




        หน้าแดชบอร์ดคือจุดเริ่มต้นของคุณเช่นเคย หน้านี้จะแสดงรายชื่อบล็อกของคุณทั้งหมดและ คุณสามารถคลิกที่ไอคอนถัดจากชื่อบล็อกเพื่อดำเนินการต่างๆ กับแต่ละบล็อก 
เช่น
   เขียนโพสต์ใหม่:  คลิกที่ไอคอนดินสอสีส้มบนแดชบอร์ดเพื่อเข้าถึงเครื่องมือการแก้ไขโพสต์ 
   
   ดูโพสต์ของคุณ: ไอคอนรายการโพสต์สีเทาจะนำคุณไปยังรายการโพสต์ที่เผยแพร่แล้วและโพสต์ในข้อความร่างของบล็อกนั้นๆ
  • ติดตามบล็อกโปรดของคุณ: ด้านล่างรายการบล็อกของคุณ คุณจะเห็นรายการบล็อกที่คุณติดตาม                                     พร้อมข้อความตัวอย่างจากโพสต์ล่าสุดของบล็อกเหล่านั้น
  • อื่นๆ: ดูเมนูเลื่อนลงข้างไอคอนรายการโพสต์สำหรับลิงก์ด่วนไปยัง:
    • - ภาพรวม
    • - โพสต์
    • - หน้าเว็บ
    • - ความคิดเห็น
    • - สถิติ
    • - รายได้
    • - การออกแบบ
    • - เทมเพลต
    • - การตั้งค่า
โปรดทราบว่าแท็บรายได้จะปรากฏเฉพาะเมื่อ AdSense สนับสนุนภาษาของคุณ

ภาพรวม



บนแท็บ ภาพรวม คุณจะเห็นกิจกรรมต่างๆ ของบล็อก ข่าวสาร และเคล็ดลับจากทีมบล็อกเกอร์และบล็อกล่าสุดของกระดาษโน้ต

เขียนโพสต์ของคุณ




เมื่อคุณลงชื่อเข้าใช้บล็อกเกอร์แล้ว คุณจะเห็นแดชบอร์ดพร้อมด้วยรายชื่อบล็อก ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณต้องทำ
  1. คลิกที่ไอคอนรูปดินสอสีส้มเพื่อเขียนโพสต์ใหม่ และป้อนอะไรก็ได้ที่ต้องการแบ่งปันกับคนทั้งโลก
  2. ถัดไป คุณจะเห็นหน้าเว็บของเครื่องมือแก้ไขโพสต์ เริ่มต้นด้วยการตั้งชื่อโพสต์ (ไม่จำเป็น)จากนั้นป้อนเนื้อหาโพสต
  3. เมื่อดำเนินการเสร็จแล้ว ให้คลิกปุ่ม ดูตัวอย่าง ที่ด้านบนเพื่อตรวจสอบให้มั่นใจว่าพร้อมที่จะดำเนินการ จากนั้นคลิกที่ปุ่ม เผยแพร่เพื่อเผยแพร่โพสต์

เพิ่มรูปภาพ

         คุณสามารถเพิ่มภาพจากคอมพิวเตอร์หรือจากเว็บไปยังบล็อกของคุณ คลิกที่ไอคอนภาพในแถบเครื่องมือของเครื่องมือแก้ไขบทความ หน้าต่างใหม่จะปรากฏขึ้น เพื่อให้คุณเรียกดูไฟล์ภาพจากคอมพิวเตอร์ หรือป้อน URL ของภาพบนเว็บ
         เมื่อคุณเลือกภาพได้แล้ว คุณจะสามารถเลือกการออกแบบเพื่อกำหนดว่าภาพของคุณจะปรากฏในบทความอย่างไร:
ตัวเลือก "ซ้าย" "กึ่งกลาง" และ "ขวา" ช่วยให้คุณปรับแต่งวิธีที่ข้อความบล็อกจะล้อมรอบภาพของคุณตัวเลือก "ขนาดภาพ" จะกำหนดขนาดของภาพที่จะปรากฏในบทความของคุณ
         คลิก อัปโหลดภาพ เพื่อเพิ่มภาพของคุณ จากนั้นคลิก เสร็จสิ้น เมื่อหน้าต่างการแจ้งปรากฏเพื่อแจ้งให้คุณทราบว่า "เพิ่มภาพของคุณแล้ว" จากนั้น Blogger จะนำคุณกลับสู่เครื่องมือแก้ไขบทความ ซึ่งคุณจะพบภาพของคุณพร้อมสำหรับการเผยแพร่ในบล็อกของคุณ
          นอกจากนี้คุณยังสามารถเผยแพร่ภาพในบล็อกของคุณ โดยใช้อุปกรณ์มือถือ ซอฟต์แวร์ภาพที่ให้บริการฟรีของ Google Picasa หรือบริการของบุคคลที่สามเช่น flickr

เพิ่มวิดีโอ

          เมื่อต้องการเพิ่มวิดีโอลงในโพสต์ของบล็อก ให้คลิกไอคอนรูปแผ่นฟิล์มในแถบเครื่องมือตัวแก้ไขโพสต์ที่ด้านบนของบริเวณที่คุณใช้เขียนข้อความบล็อก จะมีหน้าต่างปรากฏเพื่อให้คุณ "เพิ่มวิดีโอในบทความบล็อกของคุณ"
          คลิก เรียกดู เพื่อเลือกไฟล์วิดีโอจากคอมพิวเตอร์ของคุณที่คุณต้องการอัปโหลด โปรดทราบว่า Blogger ยอมรับไฟล์ AVI, MPEG, QuickTime, Real และ Windows Media และวิดีโอของคุณต้องมีขนาดน้อยกว่า 100 เมกะไบต์
          ก่อนที่จะอัปโหลดวิดีโอ เพิ่มชื่อในช่อง "ชื่อวิดีโอ" และยอมรับข้อกำหนดในการให้บริการ (คุณต้องดำเนินการนี้เฉพาะครั้งแรกที่อัปโหลดวิดีโอกับ Blogger) จากนั้นคลิก อัปโหลดวิดีโอ
          ขณะที่วิดีโอของคุณถูกอัปโหลด คุณจะพบตัวจองพื้นที่ในเครื่องมือแก้ไขบทความ เพื่อแสดงว่าวิดีโอของคุณจะปรากฏที่ไหน นอกจากนี้คุณจะพบข้อความสถานะใต้เครื่องมือแก้ไขบทความ เพื่อแจ้งให้คุณทราบว่าการอัปโหลดกำลังดำเนินการ ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณห้านาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดวิดีโอของคุณ เมื่อดำเนินการเสร็จ วิดีโอของคุณจะปรากฏในตัวแก้ไขโพสต์

กำหนดค่า

          เทมเพลตเป็นสิ่งที่คุณจะใช้ปรับแต่งบล็อกได้อย่างสนุกสนาน เมื่อสร้างบล็อกใหม่ คุณจะต้องเลือกเทมเพลตเริ่มต้น ซึ่งเป็นการออกแบบพื้นฐานสำหรับบล็อกของคุณ คุณสามารถเลือกจาก เทมเพลตจำนวนมาก ที่เตรียมไว้ให้สำหรับบล็อกของคุณ เพียงเลือกเทมเพลตที่เหมาะกับความต้องการของคุณมากที่สุด

            เมื่ออยู่บนแท็บ เทมเพลต คุณสามารถเลือกคลิกที่ปุ่ม กำหนดค่า สีส้มเพื่อเริ่มเครื่องมือออกแบบเทมเพลต WYSIWYG (“สิ่งที่เห็นคือสิ่งที่จะได้”) หรือเลือกเทมเพลตเริ่มต้นอันใดอันหนึ่งของเรา หากต้องการแก้ไข HTML ของบล็อก ให้คลิกที่ปุ่ม แก้ไข HTML สีเทา
            นอกจากนี้ คุณสามารถปรับแต่งการออกแบบบล็อก โดยใช้อินเทอร์เฟซแบบลากและวางที่ใช้งานง่าย นอกจากนี้คุณยังสามารถเพิ่มวิดเจ็ตดีๆ เช่นการแสดงภาพสไลด์ หรือโพลจากผู้ใช้ หรือแม้แต่ โฆษณา AdSense ก็ได้ ถ้าคุณต้องการควบคุมการออกแบบบล็อกโดยละเอียดยิ่งขึ้นอีก คุณสามารถใช้คุณลักษณะแก้ไข HTML ได้ ในการแก้ไขการออกแบบบล็อก ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. คลิก การออกแบบ จากเมนูแบบเลื่อนลงบนแดชบอร์ดด้านล่างบล็อกที่คุณต้องการกำหนดค่า
  2. จากนั้นคลิก แก้ไข เพื่อแก้ไขแกดเจ็ตที่มีอยู่ หรือ เพิ่มแกดเจ็ต เพื่อเพิ่มใหม่
  3. ถ้าต้องการเพิ่มแกดเจ็ตใหม่หลังจากที่คุณคลิก เพิ่มแกดเจ็ต ให้คลิกที่เครื่องหมายบวกถัดจากแกดเจ็ตที่คุณต้องการ คุณสามารถเลือกวิดเจ็ตตามหมวดหมู่ หรือค้นหาวิดเจ็ตที่ต้องการในมุมด้านขวาบนของหน้าต่างแบบป๊อปอัป
  4. เมื่อคุณได้เพิ่มข้อมูลที่จำเป็นไปยังแกดเจ็ตที่เลือกไว้เรียบร้อยแล้ว ให้คลิกปุ่ม บันทึกการจัดวาง
    สีส้ม การออกแบบที่เปลี่ยนแปลงไว้จะปรากฏขึ้นในทันที



#permissionsข้อมูลส่วนบุคคลและการอนุญาต


            ตามค่าเริ่มต้น บล็อกของคุณทุกส่วนจะเป็นแบบสาธารณะ และบุคคลทั่วไปในอินเทอร์เน็ตสามารถอ่านได้ แต่ถ้าคุณต้องการความเป็นส่วนตัว คุณสามารถทำได้เช่นกัน คุณสามารถเปลี่ยนการตั้งค่าเหล่านี้ในแท็บ การตั้งค่า | ขั้นต้น



  1. ในส่วน "ผู้อ่านบล็อก" คุณอาจพบว่ามีการเลือก "ใครก็ได้" ไว้เป็นค่าเริ่มต้น เมื่อเปลี่ยนตัวเลือกนี้เป็น "เฉพาะผู้อ่านเหล่านี้" คุณจะพบปุ่ม เพิ่มผู้อ่าน
  2. คลิกที่ปุ่ม เพิ่มผู้อ่าน จากนั้นป้อนที่อยู่อีเมลของบุคคลที่คุณต้องการให้สิทธิ์ในบล็อกของคุณ ถ้าต้องการเพิ่มหลายคน ให้คั่นที่อยู่ด้วยเครื่องหมายจุลภาค
  3. สำหรับแต่ละที่อยู่ที่ป้อน บัญชีผู้ใช้ Google ที่เชื่อมโยงกับที่อยู่นั้นจะได้รับสิทธิ์ในการดูบล็อกของคุณ ถ้าที่อยู่ไม่ได้เชื่อมโยงกับบัญชี บุคคลนั้นจะได้รับอีเมลคำเชิญพร้อมด้วยลิงก์เพื่อให้สามารถดำเนินการหนึ่งในสามอย่างต่อไปนี้:
    • - ลงชื่อเข้าใช้บัญชีที่มีอยู่
    • - สร้างบัญชีใหม่
    • - ดูบล็อกในฐานะผู้เข้าชม (ไม่ต้องมีบัญชี)